วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

โครงงานสะเต็ม เรื่อง โคมไฟเเผ่นซีดี


โครงงาน
เรื่อง โคมไฟเผ่นซีดี

โดย
เด็กหญิง บิสมิลลา  สิงหาด      เลขที่ 28
เด็กหญิง ภัททิยา   พรมทอง      เลขที่ 21
เด็กหญิง ชญานันท์  ราชแก้ว     เลขที่ 26
เด็กหญิง แพรวรุ่ง    นานช้า     เลขที่ 29
เด็กหญิง ปิ่นบังอร   นิลวิสุทธิ์  เลขที่ 36
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3

ครูที่ปรึกษา  คุณครู ศุภวรรณ  บุญขาว


กิตติกรรมประกาศ
                รายงานเรื่องนี้ประกอบด้วยการดำเนินการหลายขั้นตอน  นับตั้งแต่การศึกษาหาข้อมูล การวิเคราะห์ผลการทดลอง การจัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม จนรายงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี  ตลอดระยะเวลาดังกล่าวคณะผู้จัดทำรายงาน ได้รับความช่วยเหลือ และคำแนะนำในด้านต่างๆ ตลอดจนได้รับกำลังใจจากบุคคลหลายท่าน  คณะผู้จัดทำขอขอบคุณคุณครูทุกๆท่าน ที่คอยดูแลเอาใจใส่ ให้คำปรึกษาอย่างดี ให้คำแนะนำและได้เมตตาให้ความช่วยในทุกๆ ด้าน ขอขอบคุณ เพื่อนๆ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการทำรายงาน ท้ายที่สุด ขอขอบคุณ คุณพ่อและคุณแม่  ผู้ให้กำลังใจ



สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ                                                                                                                                                        ก
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                                         ข
สารบัญรูปภาพ                                                                                                                                               ค
บทที่ 1 บทนำ                                                                                                                                                  1
                ที่มาและความสำคัญ                        
                วัตถุประสงค์
                สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
                ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
                ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                              3
                2.1 แผ่นซีดี
                2.2 หลอดไฟ
                2.3 สายไฟ
บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา                                                                                                                            11
                วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
                วิธีการศึกษา
บทที่ 4 ผลการศึกษา                                                                                                                                      12
หน้า
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการศึกษา                                                                                                         13
                สรุปผลการศึกษา
                ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน
                ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก



บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
            สิ่งประดิษฐ์นี้มาจากการที่เราเห็นว่า ปริมาณขยะในปัจจุบันเป็นปัญหาต่อสภาวะแวดล้อม เช่น ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระดาษ แผ่นซีดี ถึงแม้จะมีการนำกลับมาใช้ใหม่ด้วยการหลอม และนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบต่างๆ ก็เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานและเป็นผลเสียต่อสภาพแวดล้อม ทางผู้จัดทำได้นำปัญหานี้มาคิดวิเคราะห์ และมีความคิดที่จะช่วยลดปริมาณและการทำลายขยะที่มีอยู่ จึงทำให้เกิดเป็นโครงงานสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ โดยการจัดทำชิ้นงานจากแผ่นซีดีที่ไม่ใช้แล้ว มาทำเป็นชิ้นงานชื่อว่า โคมไฟจากแผ่นซีดี ผู้จัดทำโครงงานมีความคิดที่จะนำขยะที่ไม่ใช้แล้วมาทำให้เป็นชิ้นงานที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับขยะเหล่านั้นได้ รวมทั้งรักษาสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ของตนให้ยั่งยืน ลดการใช้พลังงาน และลดภาวะโลกร้อนในปัจจุบันและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อนำสิ่งของที่เหลือใช้หรือไม่ใช้แล้ว มาทำการประยุกต์ใหม่ได้
2.เพื่อให้มีคุณค่า มีความน่าสนใจ ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
3.เพื่อการลดปริมาณขยะที่เป็นปัญหาต่อสภาวะแวดล้อมได้
สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
            แผ่นซีดีสามารถนำมาประดิษฐ์ได้หรือไม่ และแสงจะสว่างพอหรือไม่
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
            ตัวแปรต้น
            ถ้าแสงกระทบกับแผ่นซีดีแสงจะเปลี่ยนไปหรือไม่
            ตัวแปรตาม
            เมื่อแสงกระทบกับแผ่นซีดีแสงจะมีความสว่าง
ตัวแปรควบคุม
ควบคุมปริมาณของแผ่นซีดี และโคมไฟขนาดเท่าไหร่
ขอบเขตของการศึกษา
สถานที่ : บ้านของ เด็กหญิงภัททิยา  พรมทอง
ระยะเวลาเริ่มทำโครงงาน : 4  มิถุนายน  2561
ระยะเวลาที่ทำโครงงาน : 1 ภาคเรียน  ภาคเรียนที่  1/2561
นิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ
แผ่นซีดี   หมายถึง  สื่อบันทึกข้อมูลชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกกลม บันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์
โคมไฟ   หมายถึง  สมัยโบราณตอนกลางคืน ไม่มีแสงสว่างจากไฟฟ้า มีเพียงแต่แสงดาว แสงจันทร์ และคบเพลิง ซึ่งจากคบเพลิงไม้ ก็ได้นำไปสู่โคมไฟ เพื่อใช้เป็นแสงสว่างยามค่ำคืน โคมไฟถูกสร้างขึ้น น่าจะรับอิทธิพลมาจากประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันโคมไฟที่ได้รับความนิยม อันดับต้นๆ เลยก็คือ โคมไฟไม้สัก ซึ่งมีความสวยงาม คงทน แข็งแรง แต่มีความคลาสสิกในตัวของโคม
โคมไฟแผ่นซีดี   หมายถึง  โคมไฟแผ่นซีดีที่ทำจากแผ่นซีดีที่เหลือใช้ โดยนำหลอดไฟมาประกอบเพื่อทำเป็นโคมไฟแผ่นซีดี ซึ่งจะช่วยประหยัดปริมาณของแผ่นซีดีอีกด้วย



บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้  โดยแบ่งการศึกษา
ออกเป็น 4  ประการ  ดังนี้
1.แผ่นซีดี
2.หลอดไฟ
3.สายไฟ
1.แผ่นซีดี
 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ แผ่นซีดี


รูปภาพที่ 1.1
1.1 CD-R (ซีดี-อาร์) เป็นแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกได้ แต่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูล ลบข้อมูลทิ้ง หรือบันทึกข้อมูลเดิมซ้ำได้ จึงเหมาะสำหรับการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ต้องการแก้ไขแล้ว อย่างไรก็ตาม แผ่น CD-R นี้ ผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงไปในแผ่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วได้อีกหลายครั้ง จนกว่าพื้นที่ในแผ่นจะเต็ม โดยการบันทึกแต่ละครั้งนี้ จะถูกแยกออกเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่า Session ซึ่งในการใช้โปรแกรมเฉพาะสำหรับการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี เช่น โปรแกรม Nero ผู้ใช้งานจำเป็นต้องกำหนดการบันทึกให้เป็นแบบ Multi-session คือกำหนดให้แผ่นสามารถบันทึกเพิ่มเติมได้หลายๆ Session จนกว่าแผ่นจะเต็ม  แต่ในกรณีที่ใช้ฟันก์ชั่นของ Windows XP ในการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี การบันทึกด้วยวิธีนี้จะกำหนดให้เป็น Multi-seesion ให้โดยอัตโนมัติ

 

รูปภาพที่ 1.2
1.2 CD-RW (ซีดี-อาร์ดับบลิว) เป็นแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกซ้ำและลบข้อมูลทิ้งได้ โดยที่แผ่นซีดีนี้สามารถแบ่งการบันทึกเป็นหลายๆ Session ได้เช่นเดียวกับแผ่น CD-R แตกต่างกันตรงที่แผ่น CD-RW สามารถบันทึกซ้ำ และลบข้อมูลทิ้งได้ อย่างไรก็ตาม การนำแผ่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วมาบันทึกซ้ำ หรือนำแผ่นที่มีข้อมูลเต็มแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง คุณจำเป็นต้องลบข้อมูลทั้งแผ่นทิ้งไปก่อน แล้วนำกลับมาใช้เหมือนแผ่นเปล่า และด้วยความสามารถที่เหนือว่าแผ่น CD-R จึงทำให้แผ่น CD-RW มีราคาที่สูงกว่าแผ่น CD-R

2.หลอดไฟ

 

รูปภาพที่ 2.1
2.1 หลอดไส้หรืออินคานเดสเซนต์ เป็นหลอดไฟรุ่นแรกๆที่มีการพัฒนาแล้วก็ถูกใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ตามปกติจะมีอายุการใช้งานไม่นานและเกิดความร้อนที่หลอดมากกว่าหลอดประเภทอื่นๆ ไม่ค่อยประหยัดพลังงาน แต่เราสามารถยืดอายุการใช้งานได้โดยการติดตั้งสวิตซ์หรี่ไฟเพื่อปรับระดับแสงค่ะ ซึ่งสวิตซ์หรี่ไฟหรือสวิตซ์ปรับระดับแสงนี้นิยมใช้มากกับโคมไฟระย้าในห้องอาหาร ตามร้านอาหาร โรงแรม สปา หรือในห้องที่ต้องการให้แสงมีความนุ่มนวล หลอดไส้สามารถใช้กับสวิทช์หรี่ไฟของ Step ซึ่งมีหลายขนาดให้เลือก

 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ หลอดฟลูออเรสเซนต์


รูปภาพที่ 2.2
2.2 หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดนีออนนั่นเอง หลอดไฟชนิดนี้เป็นหลอดไฟที่มีประสิทธิภาพเชิงแสงและอายุการใช้งานสูงกว่าหลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมีทั้งขนาด 18 และ 36 วัตต์ ถ้าเปรียบเทียบกันระหว่างหลอดไส้ 100 วัตต์กับหลอดผอมนีออน 36 วัตต์ที่เปิดทิ้งไว้ทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง หลอดผอมจะประหยัดไฟมากกว่าหลอดไส้ถึงเดือนละ 6.3 บาทต่อหลอด



 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ รสเซน หลอดคอมแพค ฟลูออ ต์
รูปภาพที่ 2.3
2.3 รสเซนหลอดคอมแพคฟลูออเต์ (CFL) หรือ หลอดตะเกียบ เป็นชนิดที่ให้สีของแสงออกมาเทียบเท่า
85% ของหลอดไส้ ใช้สำหรับแทนหลอดไส้ นอกจากจะประหยัดไฟแล้ว ยังมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ถึง 8 เท่า หลอดประเภทนี้ยังถูกแบ่งออกเป็นหลายๆชนิดตามลักษณะการใช้งาน มีทั้งแบบขั้วเกลียวและขั้วเสียบ มีบัลลาสต์ภายนอกหรือในตัว เป็นต้น




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หลอดฮาโลเจน 

รูปภาพที่ 2.4
2.4 หลอดฮาโลเจน กำเนิดแสงจากความร้อน โดยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดที่ทำจากทังสเตน ซึ่งเป็นการทำงานเดียวกับหลอดไส้ แต่มีข้อแตกต่างตรงการบรรจุสารตะกูลฮาโลเจน เช่น ไอโอดีน คลอลีน ฟลูออรีน ลงในหลอดแก้วที่ทำด้วยควอทซ์ ซึ่งจะช่วยให้หลอดฮาโลเจนมีอายุการใช้งาน ปริมาณแสงสว่าง อุณหภูมิสี สูงกว่าหลอดไส้ และให้แสงสีขาว และให้ค่าความถูกต้องของสีถึง 100 % มีอายุการใช้งานประมาณ 1500-3000 ชม จึงนิยมใช้ให้แสงพวกเครื่องประดับ



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หลอดแสงจันทร์ 
รูปภาพที่ 2.5
2.5 หลอดแสงจันทร์ มีประสิทธิภาพแสงต่ำกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์เล็กน้อย แต่อายุการใช้งานนานกว่า
นิยมติดไว้นอกอาการ เช่นไฟถนน หลอดชนิดนี้เมื่อใช้ไปนานๆคุณภาพแสงจะลดลง ปัจจุบันไม่นิยมแล้วค่ะ เนื่องจากดูแลรักษายากและยังมีส่วนผสมของปรอทซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม



 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ หลอดเมทัลฮาไลด์
รูปภาพที่ 2.6
2.6 หลอดเมทัลฮาไลด์  เป็นหลอดคุณภาพแสงดีแต่ต้องใช้เวลาอุ่นหลอดเมื่อเปิด ลักษณะการกำเนิดแสงสว่างของหลอดชนิดนี้คล้ายกับหลอดแสงจันทร์ค่ะ แต่ภายในกระเปาะผสมฮาไลน์ชนิดต่าง ๆ ทำให้ได้ปริมาณแสงมากขึ้นกว่าหลอดแสงจันทร์เกือบเท่าตัว ได้แสงสีสมดุลขึ้น จนดูใกล้เคียงกับแสงแดด มักใช้กับงานที่ต้องการความถูกต้องของสีมากๆ



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หลอด LED 
รูปภาพที่ 2.7
2.7 หลอด LED ย่อมาจาก light-emitting diode ซึ่งเป็นหลอดไฟทางเลือกใหม่ คุณภาพสูง แต่ราคาก็สูงตามไปด้วย หลักการทำงานของหลอดประเภทนี้คืออาศัยการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนในสารกึ่งตัวนำ จะไม่มีการเผาไหม้เหมือนหลอดบางประเภท ดังนั้นจึงไม่เกิดความร้อน นอกจากนี้ยังมีขนาดเล็ก สามารถนำไป ดัดแปลง จัดเรียงหรือตกแต่งได้หลากหลายประเภท มีอายุการใช้งานถึง 50,000 – 60,000 ชั่วโมง และยังไม่ก่อให้เกิดสารพิษเหมือนหลอดฮาโลเจนหรือหลอดแสงจันทร์
3.สายไฟ  สายไฟจะแบ่งออกเป็น  2  ประเภทใหญ่ๆคือ สายสำหรับไฟแรงดันต่ำและสำหรับไฟแรงดันสูง

 


รูปภาพที่ 3.1
3.1 สายไอวี (IV) สาย ชนิดนี้เป็นสายเดียวหรือแกนเดี่ยวชนิดทนแรงดันไฟ 300 โวลต์ใช้เป็นสายเดินเข้าอาคารสำหรับที่พักอาศัยที่ใช้ระบบ 1 เฟสและห้ามใช้กับระบบ3เฟสที่มีแรงดัน 380 โวลต์ การใช้งาน ถ้าเดินสายลอยต้องยึดด้วยวัสดุฉนวน หรือ เดินในช่องเดินสายสายในสถานที่แห้ง แต่ห้ามร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง



รูปภาพที่ 3.2
3.2 สายวีเอเอฟ (VAF) เป็น สายชนิดทนแรงดัน 300 โวลต์มีทั้งชนิดเป็นสายเดี่ยวสายคู่และที่มีสายดินอยู่ด้วย ถ้าเป็นสายเดี่ยวจะเป็นสายกลมและถ้าเป็นชนิด 2 แกนหรือ 3 แกนจะเป็นสายแบน ตัวนำนอกจากจะมีฉนวนหุ้มแล้วยังมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่งสายคู่จะนิยมเดิน ตามฝาผนังด้วยเข็มขัดรัดสาย (Clip) หรือเดินในช่องเดินสาย แต่ห้ามเดินฝังดินโดยตรง การจะเดินสายประเภทนี้ใต้ดินจะต้องเดินในท่อฝังดินที่ปีกานป้องกันน้ำซึม เข้าท่อ ใช้ในบ้านอยู่อาศัยทั่วไปสายชนิดนี้ห้ามใช้ในวงจร 3 เฟสที่มีแรงดัน 380 โวลต์เช่นกัน (ในระบบ3เฟสแต่แยกไปใช้งานเป็นแบบ1 เฟสแรงดัน 220 โวลต์จะใช้ได้)



รูปภาพที่ 3.3
3.3 สายเอชดับเบิลยู (THW) เป็น สายไฟฟ้า ชนิดทนแรงดัน 750โวลต์เป็นสายเดี่ยวนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากใช้ในวงจรไฟฟ้าสามเฟสปกติ แกนของสายประเภทนี้มีตัวนำทองแดงจะมีหลายสายร้อยเป็นสายใหญ่หนึ่งแกน การใช้งานคือใช้เดินลอยด้วยตัวยึดทำจากวัสดุฉนวน เดินในช่องเดินสาย หรือเดินในท่อฝังดินที่มีการป้องกันน้ำซึมเข้าสู่ท่อ แต่ห้ามฝังดินโดยตรง




รูปภาพที่ 3.4
3.4 สายเอ็นวายวาย (NYY) มี ทั้งชนิดแกน เดียวและหลายแกนสายหลายแกนก็จะเป็นสายกลมเช่นกันสายชนิดนี้ทนแรงดัน 750โวลต์นิยมใช้อย่างกว้างขวางเช่นกันเนื่องจากถูกออกแบบให้มีความคงทนต่อ สภาพแวดล้อมเพราะมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่งบางสำหรับสายเอ็นวายวายชนิดสาย เดี่ยว สายชนิดนี้จะมีฉนวนหุ้มแกนหนึ่งชั้นและมีเปลือกเพียงชั้นเดียวทำหน้าที่ ป้องกันความเสียหายทางกาย สำหรับสายเอ็นวายวายที่มีหลายแกนขึ้นไปอาจจะถูกเรียกว่าสายฉนวน 3 ชั้น ความจริงแล้วสายชนิดนี้มีฉนวนชั้นเดียวอีกสองชั้นที่เหลือเป็นเปลือกชั้นใน ทำหน้าที่เป็นแบบ (Form) ให้สายแต่ละแกนร้อยเกลียวเข้าด้วยกันจนมีลักษณะกลม และมีเปลือกนอกหุ้มแล้วอีกชั้นหนึ่งทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายทางกายภาพ สายเอ็นวายวายหลายแกนจะมีชนิด  2 แกนและ 4 แกนซึ่งแล้วแต่ความต้องการใช้งาน สายชนิดนี้จะมีเปลือกสองชั้นดังกล่าวแล้วข้างต้น สายเอ็นวายวายชนิด 4 แกนมีสายนิวทรัลรวมอยู่ด้วยเรียกว่าเป็นสายเอ็นวายวาย-เอ็น (NYY-N) คือมีสายไฟอยู่3เส้นและมีสายนิวทรัลอีกหนึ่งเส้นมีขนาดพื้นที่หน้าตัดประมาณ ครึ่งหนึ่งของสายเส้นไฟจึงเหมาะที่จะใช้ในวงจร 3 เฟส4สาย อีกประเภทหนึ่งคือสายชนิดเอ็นวายวาย-กราวด์ (NYY-G) คือเป็นสายชนิด 2แกน 3แกน และ4แกนที่มีสายดิน (Groud) รวมอยู่ด้วยอีกหนึ่งเส้นจึงเหมาะที่จะใช้ต่อเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องต่อลง ดิน สายเอ็นวายๆทุกชนิดสามารถเดินใต้ดินได้โดยตรงเพราะมีเปลือกชั้นอกทำให้ทนต่อ สภาพแวดล้อม


บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษา
วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
1.แผ่นซีดี           แผ่น
2.สายไฟ   ( ความยาวประมาณ 2  เมตร )
3.ปลั๊กเสียบตัวผู้
4.สวิตซ์ปิด เปิดกลางทาง
5.หลอดไฟ  ( หลอดตะเกียบ )
6.สกรู  ( เบอร์ 10   จำนวน 20 ตัว )
7.จุ้ปไฟ
8.กล่องพลาสติก   ( ขนาด  7  นิ้ว )
9.เสาร์น็อต   (  4  นิ้ว )
10.ทรายละเอียด
วิธีการศึกษา
แบ่งเป็น   8    ขั้นตอน  ดังนี้
1.เจาะแผ่นซีดีตรงกลาง  ขนาด 2 นิ้ว
2.เจาะกล่องพลาสติกระยะห่างประมาณ  3  นิ้ว
3.ใส่เสาร์น็อต 4 นิ้ว  ยึดด้วยสกรูเบอร์ 10 ให้แน่น
4.ติดตั้งจุ้ปไฟบนกล่องพลาสติก พร้อมด้วยสายไฟและหลอดไฟ
5.นำแผ่นซีดีที่เจาะรูแล้วสวมลงบนเสาร์น็อตทั้ง 2  ข้าง  แล้วยึดจับด้วยสกรูเบอร์ 10
6. ทำสลับกันไปเรื่อยๆจนกว่าจะเต็มเสาร์น็อต 4  นิ้ว
7.นำทรายละเอียดใส่ในกล่องพลาสติก เพื่อให้เป็นน้ำหนักของฐาน
8.เสียบปลั๊กเปิดสวิตซ์ ทดสอบโคมไฟ
บทที่ 4

ผลการศึกษา
จากการศึกษาการทำโครงงานเรื่อง โคมไฟแผ่นซีดี ในการทำจัดทำโครงงานครั้งนี้ ผู้จัดทำได้รับความรู้และมีผลดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
1.ได้ประดิษฐ์ชิ้นงานโคมไฟแผ่นซีดี
2.ลดปริมาณขยะที่ไม่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่
3.ประหยัดค่าใช้จ่าย จากการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ใหม่
4.สร้างรายได้ให้กับตนเอง

ผลการทดลอง
                จากการทำโคมไฟจากแผ่นซีดี พบว่า รูปทรงออกมาดีตามที่คาดหวังไว้  ทางคณะผู้จัดทำ ได้ทดลองใช้แล้วว่า โคมไฟแผ่นซีดี สามารถใช้งานได้จริง มีแสงสว่างที่เพียงพอในการอ่านหนังสือ และสะดวกต่อการพกพา มีประโยชน์ในการอ่านนังสือเป็นอย่างมาก โดยเพราะการอ่านหนังสือในเวลากลางคืน




ชื่อโครงงาน               เรื่อง  โคมไฟแผ่นซีดี
ผู้จัดทำโครงงาน        1. ด.ญ.บิสมิลลา   สิงหาด       เลขที่  28
                                   2. ด.ญ.ภัททิยา      พรมทอง   เลขที่  21
                                    3. ด.ญ.ชญานันท์  ราชแก้ว     เลขที่  26
                                    4. ด.ญ.แพรวรุ่ง     นานช้า      เลขที่  29
                                    5. ด.ญ.ปิ่นบังอร    นิลวิสุทธิ์   เลขที่  36
                                     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3
ครูที่ปรึกษาโครงงาน    คุณครู ศุภวรรณ  บุญขาว
                                      นางสาว พฤศภรณ์   แก้มอัมพร
บทคัดย่อ
                        การจัดทำโครงงานสะเต็มเรื่อง โคมไฟแผ่นซีดี  เพื่อนำสิ่งของที่เหลือใช้หรือไม่ใช้แล้ว มาทำการประยุกต์ใหม่  เพื่อให้มีคุณค่า  และมีความน่าสนใจมากขึ้น และยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง  นอกจากจะเป็นการลดปริมาณขยะ ยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  และใช้เป็นช่องทางสร้างรายได้ให้กับตนเอง หรืออาจจะประดิษฐ์เพื่อใช้สอยในครอบครัวหรือในชีวิตประจำวัน เพราะแสงสว่างถือเป็นปัจจัยสำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากในการดำรงชีวิต ขั้นตอนการประดิษฐ์ โคมไฟแผ่นซีดี จะทำการประดิษฐ์โคมไฟในรูปทรงสี่เหลี่ยมสูง  นำแผ่นซีดีที่เตรียมไว้ เจาะแผ่นซีดีตรงกลาง  ขนาด 2 นิ้ว เจาะกล่องพลาสติกระยะห่างประมาณ  3  นิ้ว ใส่เสาร์น็อต 4 นิ้ว  ยึดด้วยสกรูเบอร์ 10 ให้แน่น ติดตั้งจุ้ปไฟบนกล่องพลาสติก พร้อมด้วยสายไฟและหลอดไฟ นำแผ่นซีดีที่เจาะรูแล้วสวมลงบนเสาร์น็อตทั้ง 2  ข้าง  แล้วยึดจับด้วยสกรูเบอร์ 10 ทำสลับกันไปเรื่อยๆจนกว่าจะเต็มเสาร์น็อต 4  นิ้ว นำทรายละเอียดใส่ในกล่องพลาสติก เพื่อให้เป็นน้ำหนักของฐาน   ก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์  เป็นการประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ รวมถึงอุปกรณ์บางส่วนนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วภายในบ้าน จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายซื้ออุปกรณ์ในส่วนนั้น และผลการทดลองการใช้งานของโคมไฟนั้น สามารถใช้งานได้จริงและยังมีความสวยงามและคงทนอีกด้วย


บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผลการศึกษา
สรุปผลการศึกษา
            แผ่นซีดีเหลือใช้สามารถนำมาทำโคมไฟได้จริง  และได้คุณภาพที่ดี  ทั้งช่วยในการลดปริมาณขยะที่เหลือใช้และได้ใช้ของใช้ที่ประดิษฐ์จากฝีมือของตนเอง  เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเสริมสร้างการใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อีกด้วย
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงาน
            สามารถนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่  ยังเป็นการช่วยลดปริมาณขยะ  เราสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  และนำไปใช้เป็นช่องทางสร้างรายได้ให้กับตนเอง 
ข้อเสนอแนะ
            ต้องต่อวงจรให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการลัดวงจรอาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้  ควรนำแผ่นซีดีไปใช้ทำประโยชน์และประดิษฐ์อย่างอื่นๆด้วย  และควรใช้แผ่นซีดีที่เหลือใช้จริงๆ



1 ความคิดเห็น: